EV Charging Mode : รูปแบบการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

รูปแบบการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าตามหลักสากล แบ่งออกเป็น 4 Mode ตามประเภทอุปกรณ์และกระแสไฟที่ใช้ชาร์จ ดังนี้

Mode 1

เสียบชาร์จจากเต้ารับไฟในบ้าน (ไฟกระแสสลับ AC) เข้ากับตัวรถโดยตรง (บนรถมี On-board charger แปลงเป็นกระแสตรง DC) โดยไม่มีอุปกรณ์ควบคุมกระแสไฟหรือป้องกันไฟรั่ว และจะมีกระแสไฟฟ้าไหลในสายตลอด ทำให้ไม่มีมาตรการความปลอดภัยที่เพียงพอ ค่ายรถ EV แทบทั้งหมดจึงไม่ใช้รูปแบบการชาร์จนี้แล้ว

Mode 2 

เสียบชาร์จจากเต้ารับไฟในบ้าน (ไฟกระแสสลับ AC) เข้ากับตัวรถ โดยมี In Cable Control Box เป็นตัวควบคุมกระแสไฟที่เข้ารถ โดยปัจจุบันกำหนดให้ต่ำ ไม่เกิน 10-16A เท่านั้น (กำลังไฟไม่เกิน 2.4kW) ซึ่งใช้เวลาชาร์จค่อนข้างนาน แต่มีความปลอดภัยมากกว่า Mode 1
ผู้จำหน่ายรถ EV ในไทยมักจะแถมอุปกรณ์นี้มาให้ โดยเรียกว่า Emergency Charge มีจุดประสงค์ให้พกติดรถไว้เสียบชาร์จเมื่อคราวจำเป็นเท่านั้น เช่น ไฟฟ้าไม่เพียงพอขณะไปต่างจังหวัด และห้ามเสียบทิ้งไว้นานๆโดยไม่มีคนเฝ้า เนื่องปลั๊กไฟทั่วไปในไทยมีขนาดสายไฟที่เล็ก (2.5 sq.mm.) และอาจพ่วงกับเต้ารับหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆอีก หากเสียบ Emergency Charge ทิ้งไว้นานๆเป็นประจำ อาจทำให้สายไฟและเต้ารับร้อนจนเสียหายแล้วเกิดอันตรายได้

หากท่านที่ต้องการจะใช้ Emergency Charge เสียบที่บ้านอย่างปลอดภัย ทาง Prime Inter Holding มีบริการติดตั้งปลั๊กแบบ Mode 2 คือ เดินสายไฟขนาด 4-6 sq.mm. จากตู้เมนไฟฟ้า มีเบรกเกอร์แยกไม่พ่วงวงจรกับอุปกรณ์อื่น จึงสามารถเสียบชาร์จทิ้งไว้ได้อย่างปลอดภัย รายละเอียดอ่านได้ที่ : อุปกรณ์มาตรฐานในงานติดตั้งเครื่องชาร์จ 

Mode 3

เสียบชาร์จรถด้วย EV Charger แบบ Wallbox ซึ่งเป็นรูปแบบที่ต่างประเทศและการไฟฟ้าฯของไทยแนะนำสำหรับการชาร์จที่บ้าน เรียกว่า AC Fast Charging ใช้กระแสไฟฟ้าได้สูงถึง 32A มีทั้งแบบ Single-phase และ 3-phase จึงสามารถชาร์จกำลังไฟได้ตั้งแต่ 3.6-22kW ขึ้นอยู่กับรุ่นของ EV Charger และ On-board charger ภายในรถ EV (สามารถชาร์จไฟได้เร็วกว่า Emergency Charge ถึง 2-10เท่า) และตัดไฟอัตโนมัติเมื่อชาร์จเต็ม ใช้ได้ทั้งรถ BEV (Battery EV) และ PHEV (Plug-in Hybrid EV) ชาร์จเป็นประจำได้ทุกวัน

ทาง Prime Inter Holding เป็นผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้ง EV Charger Mode 3 โดยมีการเดินสายไฟขนาด 6-10 sq.mm. เป็นวงจรแยกเฉพาะจากตู้เมนไฟฟ้า มีมีเบรกเกอร์แยก และมีอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว RCD จึงมีความปลอดภัยสูงสุด รายละเอียดอ่านได้ที่ : อุปกรณ์มาตรฐานในงานติดตั้งเครื่องชาร์จ 

Mode 4 

เสียบชาร์จรถด้วยไฟฟ้ากระแสตรง DC Fast Charging (ไม่ต้องผ่าน On-Board charger) ทำให้ชาร์จได้ด้วยความเร็วสูงมาก เพียง 20 นาที สามารถชาร์จได้ 80%ของแบต สามารถใช้ได้เฉพาะรถ BEV เท่านั้น ซึ่งการชาร์จรูปแบบนี้จะเห็นได้ตามสถานีชาร์จตามทางหลวง ไม่นิยมติดตั้งที่บ้าน เนื่องจากราคาสูงมาก (ประมาณ 1 ล้านบาท) และต้องใช้หม้อแปลงขนาดใหญ่กว่าบ้านทั่วไป 

ทั้งนี้ค่ายรถต่างๆและการวิจัยในต่างประเทศแนะนำว่าการชาร์จ Mode 4 นี้ ควรใช้แค่นานๆครั้งเวลาไปต่างจังหวัด ไม่เกิน 2 ใน 10 ครั้ง หากใช้เป็นประจำมีโอกาสที่แบตจะเสื่อมก่อนกำหนด ควรใช้ Mode 3 ชาร์จเป็นประจำที่บ้าน 8 ใน 10 ครั้งที่เหลือ

นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัท ไพรม์ อินเตอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (“บริษัท”) ขอแจ้งให้ท่านที่ติดต่อมายังบริษัททราบว่า บริษัทมีความจำเป็นต้องเก็บ รวบรวม และใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่ติดต่อมาใช้บริการของบริษัท [...]
เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนติดตั้งเครื่อง EV Charger
4 ข้อที่ควรตรวจสอบก่อนติดตั้ง EV Charger ทั้งตัวรถและสถานที่ เพื่อแจ้งข้อมูลที่สำคัญแก่ทีมช่าง เพื่อเลือกชนิดเครื่องชาร์จให้เหมาะสม [...]
เตรียมพร้อมมิเตอร์ไฟฟ้ายังไง ก่อนติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
สำหรับลูกค้าที่กำลังตัดสินใจติดตั้งเครื่อง EV Charger สามารถดูว่ามิเตอร์ที่บ้านเหมาะสำหรับติดตั้ง EV Charger แล้ว [...]